บทความ >> เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

การผ่อนคลายความเครียด

วันนี้หมอมีบทความดีๆ ที่จะช่วยจัดการกับความเครียดมาให้อ่านกันค่ะ

                             
                          การผ่อนคลายความเครียด (ปราโมทย์  สุคนิชย์)
ความเครียดเป็นภาวะที่คนทุกคนพบได้ในชีวิตประจําวัน ความเครียดอาจมีประโยชน์
ในแง่ทําให้คนๆนั้นมีการเตรียมตัวรับสิ่งที่ยังไม่เกิดได้ดีแต่หากมีความเครียดสูงเกินไป ก็อาจ
เป็นการบั่นทอนความสามารถปกติในการรับกับปัญหาลง และอาจนําไปสูผลเสียต่อสุขภาพกาย
ได้ ความเครียดอาจมาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ความเครียดจากภายนอก ได้แก่ การต้องเผชิญทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีที่
เกิดกับตน เช่น การสูญเสีย การย้ายงาน การเลื่อนขั้นตําแหน่ง หรือแม้กระทั่งการได้พักร้อน
2. ความเครียดจากภายใน ซึ่งมักเกิดจากคนนั้นคิดขึ้น เอง เช่น ความไม่สมหวัง ความรู้
สกเสียหน้า หรือการไม่รู้ว่าภายหน้าจะเกิดอะไร กลัวจะควบคุมตนเองหรือสถานการณ์ไม่ได้ซึ่ง
อาจพบได้บ่อยกว่าความเครียดจากเหตุภายนอกเสียอีก และต้องการการช่วยเหลือที่ค่อนข้าง
เจาะจง
 อย่างไรก็ตาม การแนะนํากว้าง ๆ ให้ผู้มีความเครียดนําไปปฏิบัติจะช่วยให้ระดับ
ความเครียดลดลงได้เช่น
1. พยายามลดหรือเลิกการดื่มกาแฟ เนื่องจากสารแคฟเฟอีนในกาแฟจะกระตุ้นให้ผู้
ดื่มมีรู้สึกกังวลง่ายขึ้น โดยค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย
2. ออกกําลังกายสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะการออกกําลังกายแบบแอโรบิก เนื่องจาก
ความเครียดจะส่งผลให้ปฏิกิริยาของร่างกายเราที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยระบบ
ประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก ทํางานมากเกินไปอย่างไม่เหมาะสม ทําให้เกิดอาการ
ใจสั่น หายใจไม่ออก ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ การออกกําลังกายจึงเป็นทางออกที่ดีที่เรา
จะเผาผลาญพลังงานปฏิกิริยาส่วนเกินของร่างกายออกไป ควรแนะนําให้ออกกําลัง
กายครั้งละ 30 นาทีทุกๆ หนึ่งหรือสองวัน
3. การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือการทําสมาธิ ซึ่งอาจขอเข้ารับการฝึกได้จากผู้รู้ตาม
แหล่งต่างๆ
4. การพักผ่อนนอนหลับ ความเครียดที่ไม่อาจแก้ไขได้ในบางครั้ง เกิดจากที่คน ๆ
นั้นอดหลับอดนอนเหนื่อยล้าเกินไปจนไม่เห็นทางออก หากเข้านอนเร็วขึ้นแค่ 30
นาทีและหลับได้ดีนั้น จะช่วยลดความเครียดได้มาก นอกจากนี้การได้งีบหลับ
กลางวันสัก 20–30 นาทีก็ช่วยได้ดีเช่นกัน
5. รู้จักหยุดพักและพักผ่อนหย่อนใจ การรู้จักประมาณความสามารถตนเอง ว่าทําได้
แค่ไหน ยาวนานเพียงไร แล้วหยุดพักเป็นช่วงๆ ในแต่ละวัน จะช่วยให้เมื่อทํางาน
จริงๆ จะตอบสนองได้ดีขึ้น
6. นอกจากนี้ในระยะยาว ควรจัดเวลาหยุดพักผ่อนให้กับตนเองให้เพียงพอในแต่ละปี
เดือนหรือสัปดาห์เพื่อให้เรามีโอกาสทําอะไรที่ตัวเองอยากทําเองบ้าง หรือได้ทํากิจ
กรรมที่สร้างความผ่อนคลาย เช่น เล่นกีฬา ทํางานอดิเรก เที่ยวพักหย่อนใจ พบปะ
เพื่อนฝูง
7. สร้างความคาดหวังที่เป็นจริงกับตนเอง เช่น เมื่อขับรถไปถึงที่หมายได้ไม่เร็วดั่งใจ
เพราะรถติด ก็ควรรับรู้ข้อจํากัดนั้นตามจริง ความคาดหวังที่พอเหมาะ จะทําให้เรา
สมหวังง่ายขึ้น เพราะเราวางแผนได้
8. หัดคิดใหม่ด้วยกรอบใหม่ในสถานการณ์เดียวกัน แต่ละคนจะมีมุมมองต่างกันไป
ด้วยกรอบความคิดของตน ทํานองเดียวกับการมองแก้วนํ้าว่าขาดครึ่งแก้วหรือเต็ม
ครึ่งแก้ว ว่าแน่นอน เราไม่อาจเปลี่ยนปริมาณนํ้าในแก้วได้แต่จะช่วยวิธีมองและรับ
รู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ยาก
9. จัดการกับความเชื่อของตนเอง หลายคนมีคําขวัญหรือสุภาษิตคําพังเพยประจําตัว
ซึ่งอาจเป็นทั้งแนวทางการใช้ชีวิตที่ดีหรือเป็นการกักขังให้คน ๆ นั้นอยู่ ถ้าความ
เชื่อเดิมๆบางอย่างเท่านั้น เช่น “ต้องทํางานหนักจึงเป็นคนดี” หรือ “จะให้แน่ใจต้อง
ลงมือเอง” เห็นได้ว่าอาจทําให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความเครียดขึ้นได้นอกจากนี้
ความเชื่อยังอาจทําให้มีความคาดหวังคนอื่นให้เป็นเหมือนความเชื่อของตนเอง จน
เกิดเป็นข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลขึ้นได้
10. การได้พูดคุยระบาย หลายครั้ง เพียงคนที่ไม่สบายใจ ได้พูดได้เล่าสิ่งต่างๆ ให้กับ
คนที่เรารู้สึกว่าเข้าใจ คน ๆ นั้นอาจรู้สึกดีขึ้นอย่างมาก หายอึดอัด นอกจากในขณะ
ทบุคคลคนนั้นได้พูดทบทวนความคิดของตนเอง เขายังอาจคิดหาทางแก้ไขปัญหา
ออกเอง การเขียนระบายอาจเป็นอีกทางออกหนึ่งถ้าไม่มีใครรับฟัง
11. การมีอารมณ์ขันอาจสร้างได้ด้วยการมองเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยกรอบใหม่ที่อาจจริง
จังลดลง แต่ควรหลีกเลี่ยงการทําตลกโดยการล้อเลียนผู้อื่น

 

Copyright© 2014 HappyFamilyNan.com. All Rights Reserved